สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 10-16 กรกฎาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มี
เนื้อที่เพาะปลูก 62.977 ล้านไร่ ผลผลิต 26.632 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 423 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566
จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโต
ได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 0.038 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.15 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.547 ล้านไร่ ผลผลิต 6.171 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 646 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2566 ปริมาณรวม 4.728 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 61.23 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.659 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.19 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,954 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,938 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,326 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,083 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.41
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,850  บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 30,790 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,830 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,870 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24                                         
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 868 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,995 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 869 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,273 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 278 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 534 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,453 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 535 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,638 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 185 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 531 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,349 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 532 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,533 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 184 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.5564 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 ไทย: เน้นการผลิตข้าวพื้นนุ่มเพื่อสร้างโอกาสส่งออกไปยังประเทศฟิลิปปินส์
นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การค้าในต่างประเทศ ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นั้น ได้รับรายงานจากนางสาวจันทนา โชติมุณี ผู้อํานวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา ถึงสถานการณ์การบริโภคข้าวในประเทศฟิลิปปินส์ว่า ฟิลิปปินส์เพาะปลูกข้าวเพื่อการบริโภคในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและมีพื้นที่ราบน้อย ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้ง ทั้งแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และพายุไต้ฝุ่นปีละกว่า 20 ลูก นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังมีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรสูง จึงต้องเพิ่มผลผลิตข้าวทุกปีให้ทันกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทาน
และเทคโนโลยีการเกษตรที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ศักยภาพในการผลิตข้าวของฟิลิปปินส์ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งจากรายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์มีแนวโน้มการบริโภคข้าวในปี 2566-2567 สูงถึง 16.5 ล้านตัน
แต่สามารถผลิตข้าวได้เพียง 12.5 ล้านตัน ทําให้ต้องพึ่งพาการนําเข้าข้าวจํานวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ประกอบกับการเปิดเสรีนําเข้าข้าวในปี 2562 ส่งผลให้ฟิลิปปินส์กลายเป็นประเทศผู้นําเข้ารายใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน
ดังนั้น ฟิลิปปินส์จึงเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย อย่างไรก็ตาม ข้าวไทยยังคงมีปัจจัยท้าทายในการขยายการส่งออกข้าวมายังฟิลิปปินส์ คือ ปัจจัยด้านราคา เนื่องจากชาวฟิลิปปินส์นิยมบริโภคข้าวขาวเป็นหลัก ซึ่งราคาถูกกว่าข้าวชนิดอื่นๆ และกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นผู้มีรายได้น้อย ทำให้ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ รวมทั้งพันธุ์ข้าวของไทยยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยปัจจุบันชาวฟิลิปปินส์นิยมรับประทานข้าวขาวพื้นนุ่ม ในขณะที่ข้าวขาวของไทยยังเป็นพื้นแข็งและมีราคาแพงกว่า
นายบุณย์ธีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นโอกาสสำหรับการส่งออกข้าวไทยมายังตลาดฟิลิปปินส์เพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2565 ไทยส่งออกข้าวมายังฟิลิปปินส์ปริมาณ 185,714 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 จากปี 2564 และคาดว่าในปี 2566 แนวโน้มการส่งออกข้าวไทยมายังฟิลิปปินส์จะสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบนโยบายว่า ต้องการทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นําด้านการผลิต การตลาดของข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก ใช้ยุทธศาสตร์ “ตลาดนําการผลิต” มุ่งพัฒนา 4 ด้าน ทั้งตลาดในประเทศ ตลาดต่างประเทศ การผลิต และการแปรรูป รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ โดยจะเร่งผลิตข้าวที่มีความหลากหลายเพื่อสนองต่อความต้องการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันข้าวไทยในตลาดโลก
ที่มา มติชนออนไลน์
 
2.2 เมียนมา
สหพันธ์ข้าวของเมียนมา (the Myanmar Rice Federation: MRF) รายงานว่า ในช่วงไตรมาสแรก (เมษายน-มิถุนายน 2566) ของปีงบประมาณ 2566/67 (เมษายน 2566-มีนาคม 2567) เมียนมาส่งออกข้าวสารและข้าวหัก จำนวนรวม 261,079 ตัน ลดลงร้อยละ 52.58 เมื่อเทียบกับจำนวน 550,547 ตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2565/66 ประกอบด้วย ข้าวสาร 122,243 ตัน และข้าวหัก 138,836 ตัน เป็นการส่งออกทางทะเล จำนวน 246,162 ตัน ส่วนที่เหลือส่งออกทางแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกข้าวสารและข้าวหักไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน เยอรมนี ตุรกีสเปน บัลแกเรีย โปแลนด์ เบลเยี่ยม โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น โดยเมื่อปีงบประมาณ 2565/66 เมียนมาส่งออกข้าวสารและข้าวหัก
รวมประมาณ 2.2 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 853.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 29,501 บาท)
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.5564 บาท
 
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในปัจจุบันยังคงปรับสูงขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 หรือปรับสู่ระดับสูงสุด
ในรอบ 5 ปี (ระหว่างปี 2561-2566) ท่ามกลางภาวะอุปทานข้าวในประเทศตึงตัว ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศ
ปรับขึ้นราคารับซื้อข้าวเปลือกขั้นต่ำ (The Minimum Support Prices: MSP) สำหรับปีการตลาด 2566/67 (เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2567) เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 7 จากปีการตลาด 2565/66 ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกที่ผู้ค้าข้าวซื้อเพื่อนําไปสีแปรสภาพเป็นข้าวสารสำหรับส่งมอบให้กับประเทศผู้ส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม แอฟริกายังคงมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 412-420 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 14,237-14,514 บาท) เพิ่มขึ้นจาก ตันละ 409-416 เหรียญสหรัฐฯ (ตันละ 14,134-14,375 บาท) ในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2566
ผู้ค้าข้าวในนครมุมไบ กล่าวว่า ความต้องการข้าวจากต่างประเทศมีเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาข้าวในประเทศยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณข้าวเปลือกในตลาดมีจํากัด ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายขึ้นราคารับซื้อข้าวเปลือกขั้นต่ำสำหรับปีการตลาด 2566/67 ที่จะเริ่มในช่วงเดือนตุลาคม 2566 จึงเป็นปัจจัยที่กดดันให้ราคาส่งออกข้าวต้องปรับขึ้นตาม
สํานักข่าว Reuters รายงานว่า จากการที่รัฐบาลอินเดียได้พิจารณาเพิ่มราคาอุดหนุนข้าวเปลือกขั้นต่ำ
ในปีการตลาด 2566/67 ช่วงฤดูฝน (Kharif Crop) ที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่ออุปทานและราคาข้าวทั่วโลกนั้น
ส่งผลให้ราคาข้าวทั้งในประเทศและราคาส่งออกข้าวของอินเดียปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.5564 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.96 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 344.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,874.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 353.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,290.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.55 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 416.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 577.00 เซนต์ (7,947.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 558.00 เซนต์ (7,747.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 200.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)
คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.501 ล้านตัน (ร้อยละ 1.53 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.72 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 2.72 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.76 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.83 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.02
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.34 บาท ราคาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.32 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.50 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 262.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,170 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 262.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,230 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,650 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,780 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.458 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.262 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.517  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.273 ล้านตันของเดือนมิถุนายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 3.89 และร้อยละ 4.03 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.46 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.58 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.30 บาท ลดลงจาก กก.ละ 32.05 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.34
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซีย ส่งมอบเดือนกันยายน สูงขึ้นร้อยละ 0.30 อยู่ที่ตันละ 3,877 ริงกิตมาเลเซีย ราคาน้ำมันปาล์มปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันถั่วเหลืองและความต้องการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าค่าเงินริงกิตมาเลเซียจะแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้มาเลเซียยังคงอัตราภาษีส่งออกในเดือนสิงหาคมที่ร้อยละ 8 แต่ได้ปรับราคาอ้างอิงให้สูงขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,825.17 ริงกิตมาเลเซีย (29.22 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 3,869.24 ริงกิตมาเลเซีย (29.55 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.14 
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 944.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 959.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.56
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         - บริษัทที่ปรึกษ า Archer Consulting รายงานว่า การซื้อจากภาคอุตสาหกรรมในสัปดาห์ที่แล้วช่วยรักษาเสถียรภาพของราคาซื้อขายน้ำตาลล่วงหน้าที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากการเทขายจากกลุ่มกองทุน ด้านผู้ค้าไม่คาดหวังว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะฟื้นตัวมากนัก เนื่องจากการเก็บเกี่ยวในภาคกลางและภาคใต้ของบราซิลเป็นไปได้ด้วยดี ด้าน ICE ตั้งข้อสังเกตว่า สถานะคงค้าง (Open Interest) ของน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยมีปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 30
         - สมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตก (WISMA) เตือนว่า รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) อาจจะมีผลผลิตน้ำตาลในปี 2566/2567 น้อยกว่าฤดูกาลที่แล้ว เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งฝนจะมีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับมรสุมฤดูฝนที่จะมาถึง ด้านรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) รายงานว่า โรคพกกระบอง (Pokka boing) ที่กำลังระบาดจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตอ้อยในรัฐอุตตรประเทศ




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,506.08 เซนต์ (19.36 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,530.05 เซนต์ (19.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.52
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 423.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.81 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 415.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.92
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.79 เซนต์ (53.02 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 67.02 เซนต์ (51.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.64


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.35 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.78
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,008.60 ดอลลาร์สหรัฐ (34.86 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,003.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 834.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.84 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 832.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,385.20 ดอลลาร์สหรัฐ (47.87 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,381.00 ดอลลาร์สหรัฐ (48.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.24 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 950.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 947.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,147.60 ดอลลาร์สหรัฐ (39.66 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,144.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.20 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.92 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.44
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.78 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.75
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,919 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,912 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,393 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,401 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  73.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.58 คิดเป็นร้อยละ 3.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 83.24 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.79 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 71.24 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.34 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,400 บาท ลดลงจากตัวละ 1,500 คิดเป็นร้อยละ 6.67
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 73.50 คิดเป็นร้อยละ 5.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.07 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.56 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ลดลงจากตัวละ 16.50 คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.50 คิดเป็นร้อยละ 4.49  ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.50 คิดเป็นร้อยละ 0.85

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355  บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 354 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 366 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 416 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 412 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 396 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 395 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 404 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 375 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 398 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 457 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 453 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.88

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.15 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.36 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.32 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100. 27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.13 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.56 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.83 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 10 - 16 กรกฎาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.65 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.73 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.28 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 114.23 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.18 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 74.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.08 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.70 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.11 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา